รู้หรือไม่? ทำไมบางศาสนสถานถึงมีป้าย “ห้ามผู้หญิงขึ้น”

แชร์

ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมานั้น ในหลายๆ สังคมของโลกจะให้ค่ากับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ชายมักจะเป็นฝ่ายที่เป็นผู้นำและมีอิทธิพลมากกว่าฝ่ายหญิง ทั้งในด้านการทำงาน และขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆ จนเกิดเป็นค่านิยมของชายเป็นใหญ่ ซึ่งอยู่คู่กับหลายๆ สังคมโลกมาอย่างยาวนาน แต่ในยุคสมัยที่โลกหมุนพัฒนามาอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับความเท่าเทียมของเพศสภาพที่เพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันทุกเพศสภาพมีความเท่าเทียมกันหมดไม่มีใครอยู่เหนือกว่าใครดั่งเช่นในอดีตอีกแล้ว แต่ก็จะมีบางวัฒนธรรมเก่าๆ ที่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศสภาพหลงเหลืออยู่ให้เราเห็น ดั่งเช่นเรื่องราวที่เราจะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจกันในวันนี้ ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยเห็นกันมาบ้างกับบางศาสนสถานที่มีป้ายว่า “ผู้หญิงห้ามขึ้น” ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีเหตุผลอะไรถึงไม่ให้ผู้หญิงขึ้น วันนี้เรามาหาคำตอบกันครับ

ดั่งเช่นค่านิยมที่เป็นมาในอดีต ที่จะยกให้ชายเป็นใหญ่ ในทางบริบทของศาสนาก็เช่นกัน ดั่งที่เราได้เห็นศาสดาของศาสนาที่สำคัญของโลกนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเพศชายทั้งสิ้น และถือว่าศาสนสถานคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา และถือว่าผู้หญิงเป็นภัยคุกคามต่อความศักดิ์สิทธิ์ เช่นนักบวชห้ามแตะตัวเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมทางศาสนา รวมไปถึงความเชื่อในเรื่องของธรรมชาติทางเพศที่เพศหญิงจะมีประจำเดือนทำให้เกิดความเสื่อมต่อศาสนสถาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อที่กดขี่ความเท่าเทียมของเพศสภาพเป็นอย่างยิ่ง 

โดยเฉพาะความเชื่อของศาสนาพุทธในเมืองไทย ที่เชื่อกันว่าประจำเดือนเป็นสิ่งสกปรก หลายๆ สถานที่จึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผสมผสานมาจากความเชื่อของศาสนาฮินดู ในทางกลับกันประจำเดือนกลับกลายเป็นของอาธรรพ์ที่ถูกนำไปใช้ในเชิงไสยศาสตร์ นั่นยิ่งตอกย้ำให้ความเชื่อในเรื่องนี้กลายเป็นเส้นขนานกับศาสนาพุทธไปโดยปริยาย ทั้งๆ ที่นี่เป็นเพียงเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้นเอง

ความเชื่อเหล่านี้ในสังคมปัจจุบันอาจถูกมองเป็นเรื่องไร้สาระและล้าหลัง แต่อย่าลืมว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีคนที่ยึดถือความเชื่อเหล่านี้อยู่จริง ความเชื่อไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ในวันหรือสองวัน แต่ต้องผ่านการผลักดันจากหลายๆ ภาคส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความเชื่อเหล่านี้ให้เกิดความเท่าเทียมกันในการท่องเที่ยวให้มากที่สุด ทางเราก็หวังว่าในอนาคตนี้การท่องเที่ยวของเมืองไทยจะเกิดการพัฒนาไปอย่างถูกที่ถูกทาง และหาทางออกให้กับปัญหานี้อย่างดีที่สุดครับ

ดูเนื้อหาต้นฉบับ

ที่มา : https://www.sanook.com/travel/1438247/
ขอขอบคุณ : https://www.sanook.com/travel/1438247/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง



บัตรกดเงินสด ซิตี้ เรดดี้เครดิต

บัตรเครดิต ซิตี้ ลาซาด้า

บัตรเครดิตซิตี้ แกร็บ

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

บัตรเครดิต ซิตี้ รีวอร์ด